ดูโพสต์นี้บน Instagram ฉลองยังต้องมีฉลามกันอีกหรือ? คนรณรงค์ ก็รณรงค์กันไป รัฐบาลก็ไม่สนใจ 😡 จะปาร์ตี้สยบรอยร้าวหรืออะไรก็ทำไปครับ แต่ฉลามไม่ได้รู้เรื่องด้วย 🦈🦈 หยุดทำร้ายฉลาม ทำลายระบบนิเวศในท้องทะเล ช่วยเป็นตัวอย่างที่ดีหน่อยครับ 🙏🙏🙏 เห็นข่าวงานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาล ที่ 1 ในเมนูอาหารค่ำคือ ซุปหูฉลามตุ๋นหม้อดิน ถือเป็นเสียงสะท้อนที่ดีว่าความพยายามในการรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของการเลิกบริโภคหูฉลาม อาจยังไปไม่ถึงบรรดาผู้นำในรัฐบาล ท่านจึงกลายเป็นผู้บริโภคเสียเอง 😒😒 . เมื่อปี 2012 หรือ 7ปีก่อน รัฐบาลจีนประกาศแบนการเสิร์ฟหูฉลามในงานเลี้ยงของรัฐ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสร้างบรรทัดฐานในการปกป้องสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ขณะที่ล่าสุดเมื่อกลางปีนี้ ประเทศแคนาดา เป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ หรือ G20 ที่ผ่านกฎหมายจำกัดการค้าหูฉลามด้วยการแบนการส่งออกและนำเข้าหูฉลามในประเทศ สะท้อนความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปกป้องประชากรฉลามโลกที่กำลังเผชิญภาวะวิกฤต ที่ถูกคุกคามจากการค้า ความต้องการบริโภคหูฉลาม และการทำประมงเกินขนาด . ทุกปีฉลาม 73 ล้านตัวถูกนำไปทำเป็นซุปหูฉลามในงานรื่นเริงต่างๆ เพียงเพราะค่านิยมที่ว่า ซุปหูฉลาม คือ อาหารราคาแพงที่แสดงถึงฐานะทางสังคมของเจ้าภาพได้ ทั้งๆที่ ซุปหูฉลามแต่ละถ้วย ได้มาจากการฆ่าสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ และใน 15 ปีที่ผ่านมา ประชากรปลาฉลามบางสายพันธุ์ลดลงมากราว 90-98% . ฉลามมีบทบาทสำคัญในท้องทะเลที่ไม่เหมือนปลาอื่น เป็นผู้รักษาความสมดุลของมหาสมุทรที่เป็นบ้านของสัตว์ทะเล เหมือนเสือในป่า หากไม่มีฉลาม ระบบนิเวศทางทะเลอาจถูกทำลาย การบริโภคหูฉลามและเมนูจากฉลามอื่นๆ จึงไม่ใช่การบริโภคที่ยั่งยืน . วิธีง่ายๆที่ทุกคนสามารถช่วยฉลาม คือการ #ฉลองไม่ฉลาม ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลร่วมกันสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการปกป้องฉลามด้วยการเลิกเสิร์ฟ เลิกทานหูฉลามในงานเลี้ยงของรัฐในอนาคต เพราะหยุดกินหูฉลาม เท่ากับหยุดฆ่า ร่วม #ฉลองไม่ฉลาม กันเถอะนะครับ . #WildAidThailand #ฉลองไม่ฉลาม #หยุดกินหูฉลามเท่ากับหยุดฆ่า #NoSharkFin โพสต์ที่แชร์โดย Nawat Kulrattanarak (@pongnawat) เมื่อ ธ.ค. 4, 2019 เวลา 1:21am PST
ฉลองยังต้องมีฉลามกันอีกหรือ? คนรณรงค์ ก็รณรงค์กันไป รัฐบาลก็ไม่สนใจ 😡 จะปาร์ตี้สยบรอยร้าวหรืออะไรก็ทำไปครับ แต่ฉลามไม่ได้รู้เรื่องด้วย 🦈🦈 หยุดทำร้ายฉลาม ทำลายระบบนิเวศในท้องทะเล ช่วยเป็นตัวอย่างที่ดีหน่อยครับ 🙏🙏🙏 เห็นข่าวงานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาล ที่ 1 ในเมนูอาหารค่ำคือ ซุปหูฉลามตุ๋นหม้อดิน ถือเป็นเสียงสะท้อนที่ดีว่าความพยายามในการรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของการเลิกบริโภคหูฉลาม อาจยังไปไม่ถึงบรรดาผู้นำในรัฐบาล ท่านจึงกลายเป็นผู้บริโภคเสียเอง 😒😒 . เมื่อปี 2012 หรือ 7ปีก่อน รัฐบาลจีนประกาศแบนการเสิร์ฟหูฉลามในงานเลี้ยงของรัฐ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสร้างบรรทัดฐานในการปกป้องสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ขณะที่ล่าสุดเมื่อกลางปีนี้ ประเทศแคนาดา เป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ หรือ G20 ที่ผ่านกฎหมายจำกัดการค้าหูฉลามด้วยการแบนการส่งออกและนำเข้าหูฉลามในประเทศ สะท้อนความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปกป้องประชากรฉลามโลกที่กำลังเผชิญภาวะวิกฤต ที่ถูกคุกคามจากการค้า ความต้องการบริโภคหูฉลาม และการทำประมงเกินขนาด . ทุกปีฉลาม 73 ล้านตัวถูกนำไปทำเป็นซุปหูฉลามในงานรื่นเริงต่างๆ เพียงเพราะค่านิยมที่ว่า ซุปหูฉลาม คือ อาหารราคาแพงที่แสดงถึงฐานะทางสังคมของเจ้าภาพได้ ทั้งๆที่ ซุปหูฉลามแต่ละถ้วย ได้มาจากการฆ่าสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ และใน 15 ปีที่ผ่านมา ประชากรปลาฉลามบางสายพันธุ์ลดลงมากราว 90-98% . ฉลามมีบทบาทสำคัญในท้องทะเลที่ไม่เหมือนปลาอื่น เป็นผู้รักษาความสมดุลของมหาสมุทรที่เป็นบ้านของสัตว์ทะเล เหมือนเสือในป่า หากไม่มีฉลาม ระบบนิเวศทางทะเลอาจถูกทำลาย การบริโภคหูฉลามและเมนูจากฉลามอื่นๆ จึงไม่ใช่การบริโภคที่ยั่งยืน . วิธีง่ายๆที่ทุกคนสามารถช่วยฉลาม คือการ #ฉลองไม่ฉลาม ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลร่วมกันสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการปกป้องฉลามด้วยการเลิกเสิร์ฟ เลิกทานหูฉลามในงานเลี้ยงของรัฐในอนาคต เพราะหยุดกินหูฉลาม เท่ากับหยุดฆ่า ร่วม #ฉลองไม่ฉลาม กันเถอะนะครับ . #WildAidThailand #ฉลองไม่ฉลาม #หยุดกินหูฉลามเท่ากับหยุดฆ่า #NoSharkFin
โพสต์ที่แชร์โดย Nawat Kulrattanarak (@pongnawat) เมื่อ ธ.ค. 4, 2019 เวลา 1:21am PST